สำหรับคนที่ Live ด้วยมือถือจนรู้ถึงขีดจัดกัดของมันแล้ว และอยากได้ความสามารถในการ Live ที่หลากหลายมากขึ้นไม่ว่าจะไปยัง Facebook , Youtube หรือ Twitch ผมขอแนะนำ 3 โปรแกรมที่น่าลองใช้งานสำหรับผู้เริ่มต้น มาให้รู้จักกันครับ
1. OBS Studio
ราคา : ฟรี
ระบบที่รองรับ : Windows, Linux, Mac
เว็บไซต์ : obsproject.com
คิดว่าหลายๆ คนที่ติดตาม Youtube Channel และ Facebook Page ของผม คงจะรู้จักเจ้า OBS Studio นี้กันบ้างแล้ว โปรแกรมนี้เป็นโปรแกรมที่สามารถใช้ทำ Live Streaming ไปบน Platform ต่างๆ ผ่าน RTMP และเป็นตัวที่ค่อนข้างได้รับความนิยมตัวหนึ่ง เนื่องจากความที่เป็น Open Source ทำให้เราสามารถนำมาใช้งานได้ฟรีอย่างถูกลิขสิทธิ์
และแม้ว่าจะเป็นโปรแกรมที่เราไม่ต้องเสียเงิน OBS Studio นั้นมีความสามารถเพียงพอเหลือเฟือที่จะทำให้งาน Live เราออกมาดูเป็นมืออาชีพได้สบายๆ ด้วยความสามารถในการทำ Overlay เพิ่ม Media Source ต่างๆ ใส่ Title รองรับการทำงานกับกล้องหลายๆ ตัว รวมถึงรองรับการนำภาพจากอุปกรณ์ที่มีระบบ NDI ผ่าน Plug in ได้ด้วย
ที่สำคัญคือ มี Studio Mode ให้ใช้สมชื่อ ทำให้เราสามารถปรับแก้ไขภาพที่เรากำลังเตรียมการระหว่าง Live อยู่ได้ โดยไม่กระทบกับภาพที่กำลังออกอากาศอยู่ เสมือนเรามีสตูดิโอขนาดย่อมๆ อยู่ที่บ้านเลยทีเดียว
ข้อดีที่มีมากมายหลายอย่าง บางครั้งก็อาจเป็นข้อเสียด้วย เพราะการปรับค่าที่ยืดหยุ่นทำให้ต้องทำความเข้าใจกับตัวโปรแกรม รวมถึงเข้าใจเรื่องระบบการออกอากาศพอสมควร แต่หากว่าเริ่มเข้าใจแล้ว ก็จะรู้ว่า OBS Studio เป็นอะไรที่สุดยอดตัวนึงสำหรับการ Live มากๆ
สำหรับคนที่สนใจอยากใช้งาน OBS Studio สามารถดูคลิปคู่มือการใช้งานได้ที่นี่ครับ
จุดเด่นของ OBS Studio
- ฟรี เพราะเป็น Open Source สามารถดาวน์โหลดมาใช้งานได้อย่างถูกต้อง
- มีความยืดหยุ่นสูง ปรับค่าต่างๆด้วยตัวเองได้แทบทั้งหมด
- รองรับการทำงานหลาย Scence สามารถทำงานได้ตั้งแต่เริ่มต้นจนไปถึงอาชีพ
- รองรับ Source ได้หลากหลายทั้งอุปกรณ์เชื่อมต่อที่เครื่องและสัญญานจากเครือข่าย
- มี Plug in ให้ใช้เยอะ
- รองรับหลายระบบปฏิบัติการทั้ง Windows, Mac และ Linux
- มีคลิปและบทความสอนการใช้งานมากมาย
จุดด้อยของ OBS Studio
- มีความซับซ้อนพอควร ต้องใช้เวลาทำความเข้าใจ
- การ Live ไป Social Platform ต่างๆ ยังต้องนำ Streamkey มากรอกใส่ด้วยตนเอง
- Live ไปได้แค่ที่เดียว (กรณีไปหลายที่ต้องอาศัย Service อื่นช่วยเพิ่มเติม)
- การตั้งค่า ผู้ใช้งานต้องเข้าใจในสเปคของคอมพิวเตอร์ที่ตัวเองใช้ เพื่อให้ภาพมีคุณภาพ
- ตัว Plug in ต้องดาวน์โหลดมาติดตั้งเอง ไม่มีตัวติดตั้งในโปรแกรม
2. Xsplit Broadcaster
ราคา : ฟรี (จำกัดความสามารถบางอย่าง), ตัวเต็มราคา 199USD
ระบบที่รองรับ : Windows
เว็บไซต์ : www.xsplit.com
โปรแกรมที่เป็นที่นิยมสำหรับนักเล่นเกม แต่ความสามารถมากเหลือเฟือจะนำมาใช้งาน Live ภายในบ้านหรือกิจการเล็กๆ จุดเด่นที่สุดของโปรแกรม Xsplit Broadcaster มีอยู่ 2 สิ่ง คือการ Live ไปได้หลาย Platform พร้อมกันในตัวโปรแกรมเอง โดยสิ่งที่เราต้องทำก็คือแค่ Log in ไปยัง Social Platform ของเราจากนั้นก็เลือกก่อนจะ Live ว่าจะให้ Live ไปที่ไหนบ้าง
เมื่อ Log in แล้ว ตัวโปรแกรมยังมีความสามารถที่ช่วยปรับการตั้งค่าการ Streamให้เราแบบอัตโนมัติ ทั้งตรวจกำลังของเครื่องและความเร็วของสัญญาน Internet ให้เราเรียบร้อย ที่เหลือเพียง Set ค่า นำภาพจากกล้องเข้ามา ใส่ Title ให้เรียบร้อยก็ Live ได้แล้ว
โปรแกรมรองรับ Source หลายแบบทั้งจากไฟล์ภาพ วิดีโอ เสียง สัญญาน Stream จากเครือข่าย และยังมี Plug in ให้ดาวน์โหลดใช้งานหลายแบบ รวมถึงการแสดง Comment จาก Social ทั้ง Facebook , Youtube หรือ Twitch
จุดเด่นของ Xsplit Broadcaster
- Log in เข้า Social Platform ได้โดยตรง ไม่ต้องนำ Streamkey มาใส่เอง
- สามารถ Live ไปได้หลายที่พร้อมกัน (ขึ้นอยู่กับกำลังเครื่อง)
- มีระบบทดสอบกำลังเครื่องและความเร็ว Internet จากนั้นจะตั้งค่าที่เหมาะสมให้
- รองรับ Source ที่หลากหลาย
- มี Plug in สำเร็จรูปที่เลือกติดตั้งได้จากโปรแกรม
จุดด้อยของ Xsplit Broadcaster
- ในเวอร์ชั่นฟรี สามารถ Live ได้ที่ความละเอียดเพียง 720p หากสูงกว่านั้นจะมีลายน้ำ
- ในเวอร์ชั่นฟรี มี Scence ให้ใช้เพียงแค่ 4 Scence เท่านั้น
- สามารถเลือกแหล่งเสียงได้จำกัด
- ปรับ Layout หน้าต่างการทำงานไม่ได้แบบอิสระ
- รองรับเฉพาะรบบ Windows เท่านั้น
3. Ecamm Live
ราคา : ทดลองใช้งานฟรี 14 วัน จากนั้นเริ่มที่ 12USD ต่อเดือน
ระบบที่รองรับ : MacOS
เว็บไซต์ : www.ecamm.com
โปรแกรมสุดท้ายที่ผมไม่เคยใช้งาน แต่สำหรับคนที่ใช้ Mac โปรแกรมนี้น่าจะถูกใจคนทำ Live อย่างมากแน่นอน ด้วยหน้าตาที่เข้าใจง่าย มีระบบการ Log in ไปยัง Social Platform ในตัว รองรับ Facebook, Youtube, Twitch และยังสามารถดึง Comment จาก Facebook โดยเลือกเอาเฉพาะข้อความที่เราต้องการมาแสดงได้ด้วย (Xsplit เลือกไม่ได้ นำมาแสดงทั้งหมด)
ความสามารถที่โดดเด่นและน่าสนใจสำหรับคนที่ต่อกล้องเพื่อจะ Live โปรแกรมสามารถเชื่อมต่อกับกล้อง Canon ตระกูล EOS ผ่านทางสาย USB ได้ทันทีโดยไม่ต้องผ่านตัวแปลงสัญญานก่อน ทำให้เราได้ภาพคุณภาพสูงจากตัวกล้องมาใช้งานได้ทันที แต่สำหรับเสียงเรายังต้องต่อไมค์เพิ่มเติม หรือจะใช้ไมค์ที่ Built in ในเครื่องก็ได้
อีกหนึ่งความสุดยอดของโปรแกรมที่น่าสนใจก็คือ โปรแกรมรองรับการนำ Video call จาก Skype เข้ามาเพื่อพูด ทำ Live ร่วมกันได้ด้วย รองรับแขกรับเชิญสูงสุดถึง 5 คน ทำให้รายการของเราดูน่าสนใจมากขึ้น ตัวอย่างรายการที่ใช้ความสามารถนี้ของ Ecamm Live ในประเทศไทยก็คือ รายการคุยกันใหญ่ที่ใช้โปรแกรมผ่านทาง “พี่หาว” เจ้าของเพจ 2How.com นั่นเอง ใครอยากเข้าไปดูรูปแบบการจัดรายการ สามารถคลิกลิงค์นี้เข้าไปดูได้ที่ เพจคุยกันใหญ่ หรือหากอยากติดตามข่าวการด้านการถ่ายภาพและเทรนด์การทำสื่อก็สามารถ คลิกที่ลิงค์นี้เพื่อเข้าไปติดตามพี่หาว ได้ที่เพจ 2How.com เช่นกัน
และเนื่องจากไม่เคยใช้งานจริงๆ ผมขอเขียนจุดเด่นที่สรุปมารวมๆ ที่คนทั่วไปน่าจะได้ใช้ประโยชน์ในการ Live เอาไว้ตามนี้ครับ
จุดเด่นของโปรแกรม Ecamm Live
- หน้าตาเป็นมิตร ทำความเข้าใจได้ง่าย
- เชื่อมต่อกับกล้อง Canon ตระกูล EOS เพิ่มนำภาพมา ทำ Live ได้เลย ไม่ต้องมีกล่องแปลงสัญญาน
- มีความสามารถในการเลือก Comment จาก Facebook มาแสดงที่หน้าจอ Live ของเรา
- อัพเดตไว แก้ไขปัญหาได้ค่อนข้างเร็ว เมื่อมีกล้อง Canon EOS ตัวใหม่ออกมา ก็เพิ่มการรองรับได้ไว
- นำแขกรับเชิญมาร่วมรายการผ่าน Skype ได้
จุดด้อยของโปรแกรม Ecamm Live
- รองรับเฉพาะระบบ MacOS เท่านั้น
- มีเฉพาะระบบเช่ารายเดือน ไม่มีตัวซื้อขาด
สรุปจะเริ่มหัดโปรแกรมแรก ควรเป็นตัวไหนดี?
ถ้าให้ผมมองรวมๆ หากว่าเราต้องการ Live ไปแค่แหล่งเดียว แต่มีการทำงานกับ Scene เยอะๆ ก็อาจจะเริ่มกับ OBS Studio ก็ได้ หากเราใช้งาน Windows และตั้งใจ Live ไปหลายๆ Platform พร้อมกัน การเริ่มกับ Xsplit เลยก็น่าจะสะดวกดี หรือถ้าผมมี Mac ใช้ ผมเลือก Ecamm Live แน่นอน และถึง OBS Studio มีให้ใช้ใน Mac บางความสามารถก็ถูกตัดออกไป ทำให้ไม่สะดวกเท่าที่ควรเป็นเหมือนเวอร์ชั่นบน Windows
และสุดท้าย เราก็อาจจะต้องลองทุกอย่างว่าอะไรเข้ากับมือเราในการใช้งานมากที่สุด ตามรูปแบบการทำงานของเราอยู่ดีแหละครับ 😁
สำหรับคนที่สนใจการทำ Live Streaming และ Vlog ติดตามผมได้เพิ่มเติม ตามช่องทางตามนี้ครับ
Youtube Channel : Undervlog
Facebook Page : Undervlog
ไว้เจอกันใหม่ที่คลิปหรือบทความหน้า สวัสดีครับ ~~